เช็คสุขภาพลูกน้อย เด็กแรกเกิด - 3 ขวบ น้ำหนักตัวตามเกณฑ์ควรมีเท่าไร?

2021-05-31 | โดย SandSky | เข้าชม : 5733

เช็คสุขภาพลูกน้อย เด็กแรกเกิด - 3 ขวบ  น้ำหนักตัวตามเกณฑ์ควรมีเท่าไร?
เช็คสุขภาพลูกน้อย เด็กแรกเกิด - 3 ขวบ น้ำหนักตัวตามเกณฑ์ควรมีเท่าไร?

เด็กจ้ำม่ำเจ้าเนื้อ หลายคนอาจจะมองว่าน่ารัก แต่ในความเป็นจริงหากเกินค่ามาตราฐานหรือน้อยกว่าค่ามาตราฐานในเรื่องสุขภาพนั้น จะไม่เป็นผลดีต่อสุขภาพของเด็ก อาจทำให้เกิดปัญหาโรคตามมาได้ ในบทความนี้ขอนำสาระความรู้เกี่ยวกับ น้ำหนักตัวตามเกณฑ์ของ เด็กแรกเกิด - 3 ขวบ ว่าควรมีเท่าไร?  ถึงจะอยู่ในเกณฑ์สุขภาพดี 

เช็คสุขภาพลูกน้อย เด็กแรกเกิด - 3 ขวบ  น้ำหนักตัวตามเกณฑ์ควรมีเท่าไร?  

คำแนะนำจากแพทย์นั้นเผยว่า น้ำหนักของเด็ก ถือเป็นเรื่องสำคัญอย่างมาก เพราะหากน้ำหนักของเด็กเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานที่จัดไว้ แสดงให้เห็นว่าเด็กมีการเจริญเติบโตที่เป็นไปตามวัยอย่างสมบูรณ์ แต่ถ้าหากมีน้ำหนักที่น้อยกว่า หรือมากกว่าเกณฑ์นั่นอาจเป็นสัญญาณของความผิดปกติทางด้านร่างกาย มีความเสี่ยงด้านสุขภาพ ถ้าน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ อาจมีปัญหาด้านต่างๆ เช่น ภาวะขาดสารอาหาร พร่องวิตามินที่มีความจำเป็นต่อร่างกาย โรคโลหิตจาง ภูมิคุ้มกันลดลง เป็นต้น ส่วนเด็กที่มีภาวะน้ำหนักมากกว่าเกณฑ์หรือเรียกว่าน้ำหนักเกิน ก็จะทำให้เด็กมีลักษณะที่อ้วนกว่าเด็กในวัยเดียวกัน และเสี่ยงเป็นโรคต่างๆ ด้วย เช่น  โรคหัวใจเพราะระดับคอเลสเตอรอลสูง ความดันโลหิตสูงในเด็ก โรคเบาหวานชนิดที่ 2 โรคหอบหืด เป็นต้น

เช็คสุขภาพลูกน้อย เด็กแรกเกิด - 3 ขวบ  น้ำหนักตัวตามเกณฑ์ควรมีเท่าไร?

ดังนั้นแล้ว ในช่วงตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุ 3 ปี ผู้ปกครองควรชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูงของลูกน้อยสม่ำเสมอ ดังนี้

  • อายุ 2 สัปดาห์-6 เดือน เดือนละ 1 ครั้ง
  • 6 เดือน-12 เดือน 1 ครั้ง ต่อ ทุก ๆ 2 เดือน
  • 12 เดือนขึ้นไป 1 ครั้ง ต่อ ทุก ๆ 3 เดือน

เกณฑ์มาตรฐาน น้ำหนักของเด็ก วัยแรกเกิดถึงอายุ 3 ปี มีดังต่อไปนี้

  • แรกเกิด 3-3.5 กิโลกรัม
  • 3 เดือน 5.5-7 กิโลกรัม
  • 6 เดือน 7-8.5 กิโลกรัม
  • 9 เดือน 8-9.5 กิโลกรัม
  • 1 ปี 9-10 กิโลกรัม
  • 2 ปี 11-13 กิโลกรัม
  • 3 ปี 13-13.5 กิโลกรัม

เช็คสุขภาพลูกน้อย เด็กแรกเกิด - 3 ขวบ  น้ำหนักตัวตามเกณฑ์ควรมีเท่าไร?

เทคนิคเลี้ยงลูกให้มี น้ำหนักตามมาตราฐานและสุขภาพที่ดี 

เด็กจะเติบโตมาได้อย่างสุขภาพดีและแข็งแรงได้นั้น ต้องบอกว่าผู้ปกครองถือเป็นส่วนที่สำคัญมากๆ เพราะจะต้องเป็นผู้ดูแลเค้า ลองอ่านคำแนะนำต่อไปนี้และลองไปปรับใช้กับลูกน้อง

ทำตัวอย่างที่ดีให้ลูกเห็น 

เด็กๆ ถือเป็นวัยเรียนรู้และจดจำ ผู้ปกครองซึ่งเป็นคนที่ใกล้ชิดกับเขาจึงเป็นคนที่มีอิทธิพลต่อการสร้างการเรียนรู้ต่อลูก ดังนั้น ทำพฤติกรรมที่ดีให้เขาเห็น สร้างการรับรู้สิ่งดีๆ เช่น ชวนกินของมีประโยชน์ ชวนออกกำลังกาย ทำให้เขาเห็นไปด้วย 

ออกกำลังกายคือสิ่งที่ควรทำเป็นประจำสม่ำเสมอ

ทางการแพทย์แนะนำว่า ในวัยเด็กควรออกกำลังกายอย่างน้อยวันละ 60 นาที ซึ่งไม่จำเป็นต้องออกกำลังกายอย่างจริงจังแบบผู้ใหญ่ แต่เน้นเป็นการให้เด็กได้ทำกิจกรรม เช่น พาไปขี่จักรยาน วิ่งเล่นในสวนที่บ้าน เล่นสนามเด็กเล่น ถือเป็นการร่วมกันทำกิจกรรมให้เด็กสนุกสนาน สานสัมพันธ์ในครอบครัวได้ด้วย 

เรื่องอาหารการกินต้องใส่ใจ 

อาหารถือเป็นเรื่องสำคัญอีกเรื่องที่ต้องควบคุม ให้ลูกน้อยได้กินอาหารที่ครบถ้วนเพียงพอในปริมาณที่เหมาะสมไม่มากไปไม่น้อยไป เลือกกินอาหารที่มีประโยชน์ หลีกเลี่ยงขนมหวาน น้ำอัดลม เน้นผักผลไม้และของที่ดีมีประโยชน์ต่อสุขภาพ 

พักผ่อนให้เพียงพอ 

การพักผ่อนนอนหลับจะช่วยให้กระบวนการเจริญเติบโต ของเด็กๆ เป็นไปอย่างสมบูรณ์  อย่าให้เด็กนอนดึกเกินไป หรือตามใจให้เล่นสมาร์ทโฟนแท็บเล็ตจนนานติดต่อไป เพราะจะส่งผลให้เด็กนอนไม่หลับ นอนไม่เต็มอิ่ม จำกัดเวลาการเล่น หรือทางที่ดีหากิจกรรมอย่างอื่นๆ ทำที่จะไม่เป็นการรบกวนเวลานอนของลูกน้อย 

ข้อมูล: www.pobpad.com, สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข