รู้จัก รายชื่อวัคซีนโควิด 19 มีอะไรบ้าง วัคซีนในไทยตอนนี้มีกี่ยี่ห้อ 

2021-06-01 | โดย SandSky | เข้าชม : 126

รู้จัก รายชื่อวัคซีนโควิด 19  มีอะไรบ้าง วัคซีนในไทยตอนนี้มีกี่ยี่ห้อ 
รู้จัก รายชื่อวัคซีนโควิด 19 มีอะไรบ้าง วัคซีนในไทยตอนนี้มีกี่ยี่ห้อ 

ข้อมูลความรู้ที่ควรรู้กันไว้ เกี่ยวกับ วัคซีนโควิด 19 ในช่วงเวลานี้ วัคซีนโควิดมีชื่ออะไรบ้าง ในที่นี่จะขอหยิบยกรายชื่อวัคซีนโควิด19 ที่ใช้กันแล้วในหลายประเทศ มาให้ได้อ่านผ่านตารู้จักชื่อกันไว้

ทำความรู้จัก รายชื่อวัคซีนโควิด 19 ที่ใช้กันแล้วในหลายประเทศ 

รู้จัก รายชื่อวัคซีนโควิด 19  มีอะไรบ้าง วัคซีนในไทยตอนนี้มีกี่ยี่ห้อ 

BioNTech/Pfizer

  • ผู้ผลิต อเมริกา
  • ชนิดวัคซีน mRNA

Moderna

  • ผู้ผลิต อเมริกา
  • ชนิดวัคซีน mRNA

Oxford-AstraZeneca

  • ผู้ผลิต อังกฤษ
  • ชนิดวัคซีน Viral vector

Sinovac

  • ผู้ผลิต จีน
  • ชนิดวัคซีน วัคซีนเชื้อตาย

Sinopharm

  • ผู้ผลิต จีน
  • ชนิดวัคซีน วัคซีนเชื้อตาย

Bharat

  • ผู้ผลิต อินเดีย
  • ชนิดวัคซีน วัคซีนเชื้อตาย

Gamaleya (Sputnik V)

  • ผู้ผลิต รัสเซีย
  • ชนิดวัคซีน Viral vector

Johnson & Johnson

  • ผู้ผลิต อเมริกา
  • ชนิดวัคซีน Viral vector

Novavax

  • ผู้ผลิต อเมริกา
  • ชนิดวัคซีน Protein-based vacciens

CanSino Biologics

  • ผู้ผลิต จีน
  • ชนิดวัคซีน Viral vector

ทั้งนี้ข้อมูลวัคซีนดังกล่าว อัปเดตล่าสุด 10 พฤษภาคม 2564 โดยอ้างอิงจาก รพ. พระรามเก้า 

รู้จัก รายชื่อวัคซีนโควิด 19  มีอะไรบ้าง วัคซีนในไทยตอนนี้มีกี่ยี่ห้อ 

วัคซีนในไทยตอนนี้มีกี่ยี่ห้อ 

วัคซีนแอสตร้าเซนเนกา (AstraZeneca) เป็นวัคซีนประเภท Viral Vector สำหรับฉีดในแก่ผู้ที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป (แต่ในประเทศไทยใช้ในผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป) โดยจะฉีดบริเวณต้นแขนทั้งหมด 2 เข็ม ซึ่งทางคณะอนุกรรมการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค กำหนดให้ฉีดแต่ละเข็มห่างกัน 10 – 12 สัปดาห์ (ไม่แนะนำให้ผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องอย่างมากฉีดวัคซีนดังกล่าว)

วัคซีนซิโนแวค (Sinovac) เป็นวัคซีนชนิดเชื้อตาย สำหรับฉีดในผู้ที่มีอายุระหว่าง 18 – 59 ปี โดยจะฉีดบริเวณต้นแขนทั้งหมด 2 เข็ม ซึ่งทางคณะอนุกรรมการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค กำหนดให้ฉีดแต่ละเข็มห่างกัน 2 – 4 สัปดาห์ ยกเว้นผู้ที่อยู่ในพื้นที่ระบาดรุนแรง ให้ฉีดห่างกัน 2 สัปดาห์

นอกจากนี้ยังมีการเร่งติดต่อบริษัทผู้ผลิตวัคซีนรายอื่นเพิ่มเติม ดังนี้

  • ไฟเซอร์ (Pfizer) จำนวน 5-20 ล้านโดส*
  • จอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน (Johnson & Johnson: J&J) จำนวน 5-10 ล้านโดส*
  • สปุตนิก วี (Sputnik V) จำนวน 5-10 ล้านโดส*
  • ซิโนแวค (Sinovac) ซึ่งเป็นการสั่งซื้อเพิ่มเติมจากโดสที่มีอยู่อีก จำนวน 5-10 ล้านโดส*

จำนวนโดสของวัคซีนทั้ง 4 ยี่ห้อดังกล่าว เป็นจำนวนที่คาดว่าจะสั่งซื้อ อาจมีการเปลี่ยนแปลงภายหลัง

รู้จัก รายชื่อวัคซีนโควิด 19  มีอะไรบ้าง วัคซีนในไทยตอนนี้มีกี่ยี่ห้อ 

ทำความรู้จัก วัคซีนโควิด 19 ทั้ง 4 ชนิดหลัก

วัคซีนที่ใช้ป้องกันโรคโควิด 19 ทั้งหมดในปัจจุบัน มีอยู่ 4 ชนิดหลัก ๆ แบ่งจากเทคนิคที่ใช้ในการผลิตวัคซีนโควิด 19 ได้แก่

1.วัคซีนโควิด 19ชนิดสารพันธุกรรม (mRNA vaccines) มีสองเจ้าที่ใช้เทคโนโลยีนี้คือ BioNTech/Pfizer และ Moderna เป็นเทคโนโลยีใหม่ ที่เคยใช้กับการพัฒนาวัคซีนป้องกันอีโบล่า สำหรับกรณีโควิด 19 นี้ วัคซีนผลิตขึ้นจากการใช้สารพันธุกรรมของเชื้อไวรัสซาร์ส-โควี-2 (SARS-CoV-2) ซึ่งเมื่อฉีดเข้าไปในร่างกาย mRNA จะเข้าไปกำกับการสร้างโปรตีนส่วนหนาม (spike protein) ของไวรัสชนิดนี้ แล้วทำให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสตัวนี้ออกมา

2.วัคซีนโควิด 19 ชนิดใช้ไวรัสเป็นพาหะ (Viral vector vaccines) มีวัคซีนของ Johnson & Johnson และ Oxford – AstraZeneca และวัคซีน Sputnik V ใช้เทคนิคนี้ โดยเป็นการใช้ไวรัสที่ถูกทำให้อ่อนฤทธิ์ (ไม่ทำให้เราป่วย) หรือไม่สามารถแบ่งตัวได้อีก แล้วตัดแต่งพันธุกรรมเพื่อใช้เป็นพาหะ โดยฝากสารพันธุกรรมของเชื้อไวรัสซาร์ส-โควี-2 (SARS-CoV-2) เข้าไป ทำให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสขึ้นมา วัคซีนประเภทนี้สามารถกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกันได้ดี เนื่องจากเลียนแบบให้ใกล้เคียงกับการติดเชื้อตามธรรมชาติ

3.วัคซีนโควิด 19 ที่ทำจากโปรตีนส่วนหนึ่งของเชื้อ (Protein-based vaccines) บริษัทผลิตวัคซีนที่ใช้เทคนิคดังกล่าว เช่น Novavax เป็นต้น จะใช้โปรตีนบางส่วนของเชื้อไวรัสซาร์ส-โควี-2 (SARS-CoV-2) เช่น โปรตีนส่วนหนาม (spike protein) แล้วนำมาผสมกับสารกระตุ้นภูมิ เมื่อฉีดเข้าไปแล้วจะกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสขึ้นมา เทคนิคนี้ใช้กันมานานแล้ว เพราะเป็นเทคนิคที่ใช้ผลิตวัคซีนไข้หวัดใหญ่ และวัคซีนตับอักเสบชนิดบี

4. วัคซีนโควิด 19 ชนิดเชื้อตาย (Inactivated vaccines) สำหรับวัคซีนที่ใช้เทคนิคดังกล่าว ได้แก่ Sinovac และ Sinopharm โดยจะผลิตจากไวรัสซาร์ส-โควี-2 (SARS-CoV-2) ที่ถูกทำให้ตายแล้วด้วยสารเคมีหรือความร้อน เมื่อฉีดเข้าไปในร่างกาย จะกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัส เป็นเทคนิคที่เคยใช้กับการผลิตวัคซีนตับอักเสบเอ หรือวัคซีนโปลิโอ (ชนิดฉีด) มาแล้ว แต่เพราะต้องทำในห้องปฏิบัติการนิรภัยระดับ 3 ทำให้ผลิตได้ช้า และมีต้นทุนการผลิตที่สูง