เมื่อลูกเป็นไข้ สิ่งที่น่ากังวลใจมากที่สุดคือหากไข้สูงกว่า 39องศา อาจเสี่ยงให้เกิดอาการชัก ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ต้องรู้วิธีรับมือเมื่อลูกมีไข้ และรู้จักวิธีการใช้ ยาลดไข้เด็ก อย่างถูกวิธี โดยสิ่งที่ต้องทำเป็นอย่างแรกคือวัดอุณหภูมิลูกด้วยเทอร์โมมิเตอร์วัดไข้
วิธีใช้ยาลดไข้ เมื่อลูกไม่สบาย
หากลูกมีอุณหภูมิระหว่าง 37.5-38.4 แปลว่า มีไข้ต่ำ
หากลูกอุณหภูมิระหว่าง 38.5 ขึ้นไปแปลว่า มีไข้สูง
สำหรับเด็กที่มีไข้สูง การให้ยาลดไข้จะไม่ค่อยได้ผล ควรเช็ดตัวให้เย็นลงเสียก่อนแล้วกินยาตาม
สำหรับยาลดไข้เด็ก ที่มีขายในท้องตลาดให้คุณพ่อคุณแแม่ซื้อไว้ติดบ้านมีอยู่ด้วยกันหลายยี่ห้อ แต่ตัวยาหลักๆ ที่ปลอดภัยและใช้ได้ในเด็กเล็กนั้น มีอยู่ 2 ชนิดคือ ยาลดไข้พาราเซตามอล และ ยาลดไข้ไอบูโพรเฟน ซึ่งมีลักษณะและวิธีการใช้ดังนี้
ยาลดไข้เด็ก พาราเซตามอล เป็นยาที่มีความปลอดภัยสำหรับเด็ก หากใช้ในปริมาณที่เหมาะสม คือ น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ต่อปริมาณยาพาราเซตามอล 10 มิลลิกรัม
ยกตัวอย่างเช่น หากลูกน้ำหนัก 10 กิโลกรัม ปริมาณการกินยาพาราเซตามอลคือ 100 มิลลิกรัม หรือเทียบเป็นปริมาณซีซี หากใช้ไซริงค์ในการป้อนยาลูกคือ 1CC
วิธีการเทียบน้ำหนักเพื่อ กินยาลดไข้ คำนวนง่ายๆ คือ
: น้ำหนัก 1 K = 10 MG หรือ 0.1 CC
: น้ำหนัก 10 K = 100 MG หรือ 1 CC
และสามารถทานได้ทุก 4-6 ชั่วโมงหากกลับมามีไข้ แต่ไม่ควรเกินวันละ 5 ครั้ง โดยเฉพาะในเด็กเล็กที่อายุต่ำกว่า 1 ขวบ ไม่ควรใช้ยามากเกินความจำเป็นเพราะอาจส่งผลต่อตับได้
ในกรณีที่ลูกมีไข้ต่ำๆ ให้ใช้วิธีเช็ดตัวเพื่อลดไข้ดูก่อน หากไข้ลดก็ยังไม่จำเป็นต้องกินยาลดไข้ แต่หากเช็ดตัวแล้ว ภายใน 1 ชั่วโมง ยังกลับมามีไข้อีก ให้เช็ดตัวอีกครั้งแล้วกินยาลดไข้
ยาลดไข้ไอบูโปรเฟน จัดเป็นยาลดไข้ที่ใช้ในลักษณะไข้สูง หรือไม่ไข้เกิน 38.4 ต่อเนื่องทั้งที่กินยาลดไข้พาราเซตามอลไปแล้วติดต่อกันเกิน1-2วัน ไม่แนะนำให้ใช้ยาเองโดยไม่ปรึกษาแพทย์ โดยเฉพาะในเด็กอายุต่ำกว่า 6 เดือน เนื่องจาก ยาลดไข้ไอบูโปรเฟน อาจส่งผลข้างเคียงเช่น มีผลต่อไต กระเพาะอักเสบ ไม่ควรซื้อยาลดไข้ประเภทนี้กินเองโดยไม่ผ่านคำแนะนำจากแพทย์
นอกจากนี้แล้ว ยังมีกลุ่มยาลดไข้ แอสไพริน อีกประเภทหนึ่ง แต่ในที่นี่ไม่ขอกล่าวถึง เพราะในเด็กที่อายุต่ำกว่า 1 ขวบ ห้ามรับประทานเด็ดขาด และไม่แนะนำให้ซื้อยากินเองโดยไม่ผ่านการปรึกษาแพทย์
สำหรับยาน้ำลดไข้ เมื่อเปิดใช้แล้ว ควรเก็บในตู้เย็น และหากเก็บไว้เกิน 6 เดือน ไม่ควรนำมาให้ลูกกินอีก เพราะยาอาจเสื่อมสภาพแล้วถึงแม้ว่าจะยังไม่ถึงกำหนดวันหมดอายุบนขวดยาก็ตาม เช่นนั้นแล้ว หลังจากเปิดขวดยา ให้คุณแม่เขียนวันที่เปิดใช้ครั้งแรกไว้ที่ขวดยาด้วย ก็จะทำให้รู้อายุการใช้งาน และใช้ยาได้อย่างปลอดภัยและยังมีคุณสมบัติในการรักษาได้ดีอยู่
บทความแนะนำ :
- ฉีดวัคซีนแล้วเป็นไข้ ควรรับมือและดูแลลูกอย่างไร
- วิธีล้างจมูก สำหรับเด็กแต่ละช่วงวัย อย่างปลอดภัย
- เด็กวัยไหน ควรสวมหน้ากากอนามัย และ ไม่ควรสวมหน้ากากอนามัย
- โฮมสคูล สอนลูกเรียนที่บ้าน น่าสนใจยังไงทำไมถึงเริ่มได้ยินคำนี้เยอะขึ้น